วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

โครงสร้างของพืช

ชีววิทยา  เรื่อง โครงสร้างของพืช



จัดทำโดย
นายทศพล  เสนาโปธิ
เลขที่ 28 ม.5.7
เสนอ
ครูนาฏองค์  จันทร์ฉาย
โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ เชียงราย










ดอกดาวเรือง


เป็นไม้ดอกที่คนไทยรู้จักกันดีชนิดหนึ่งเนื่องจากปลูกง่าย โตเร็ว คงทนต่อสภาพแวดล้อม มีสีสันสดใสสะดุดตา ดอกมีลักษณะกลมสวยงาม กลีบดอกจัดเรียงเป็นระเบียบ กลีบดอกยึดแน่นกับฐานดอก ไม่หลุดง่าย อายุการใช้งานนานประมาณ 7-10 วัน นอกจากนี้ ดาวเรืองยังเป็นพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 60-70 วัน ก็สามารถตัดจำหน่ายได้ รวมทั้งดาวเรืองยังเป็นพืชที่ขึ้นได้ดีทุกสภาพพื้นที่และทุกฤดูกาลของประเทศ และเป็นไม้ดอกสามารถทำรายได้ให้กับผู้ปลูกสูง ในปัจจุบันการปลูกดาวเรืองนอกจากจะปลูกเพื่อตัดดอกขายแล้ว สามารถปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกเพื่อใช้ประดับตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งมีการปลูกเพื่อเก็บเมล็ดส่งโรงงานอาหารสัตว์อีกด้วย
แหล่งปลูก ดาวเรืองที่สำคัญของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดพะเยา ลำปาง นนทบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อุดรธานี และกรุงเทพฯ



ชื่อวิทยาศาสตร์  : TAGETES  ERECTAL

ชื่อสามัญ : MARIGOLD

ชื่อพื้นเมือง:  ดอกคำพู่จู้ คำปูจู้หลวง ดาวเรืองใหญ่ พอทู ดาวเรืองอเมริกัน

ชื่อวงศ์:  Compositae

อาณาจักร  plantae
                

ส่วน    magenliophyta

ชั้น  magenlpsida

อันดับ   asterales

วงศ์   compositae

สกุล  tagetes

สปีชีส์     t.erecat


ลักษณะทั่วไป:


ต้น  ไม้ดอกล้มลุก มีทั้งพันธุ์เตี้ยเเละพันธุ์สูง ลำต้นเป็นเหลี่ยม
ใบ  ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปรีถึงรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน กว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร ยาว 1.5-5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบแคบ ขอบใบจักฟันเลื่อย ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม
ดอก  มีหลายสี   เข่น  สีขาว เหลือง เหลืองทอง และส้ม ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกเดี่ยวที่ปลายกิ่ง ดอกวงนอกกลีบดอกเป็นรูปรางน้ำซ้อนกันแน่น  โคนกลีบดอกเป็นหลอดเล็ก ปลายแผ่เป็นรูปไข่กลับ ดอกวงในกลีบดอกเป็นหลอดสีเหลืองปลายจักเป็น 5 ซี่ ดอกบานเต็มที่กว้าง 5-8 เซนติเมตร มีทั้งดอกชั้นเดียวและดอกซ้อน
ฝัก/ผล  ผลแห้งไม่แตก มีสีดำ  
ฤดูกาลออกดอก:  ตลอดปี
การปลูก:  ปลูกประดับเป็นจุดเด่นในสวนหรือปลูกเป็นกลุ่ม ริมถนน ทางเดิน
การดูแลรักษา:  ต้องการแสงแดดจัด   สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทุกชนิด
การขยายพันธุ์:  เพาะเมล็ดปักชำยอด
ส่วนที่มีกลิ่นหอม:  ดอกกลิ่นหอมฉุน
การใช้ประโยชน์:     -    ไม้ประดับ     -    สมุนไพร     -    สีของดอกใช้เป็นสีย้อมผ้า     -    ดอกดาวเรืองผสมในอาหารสัตว์เป็นอาหารเสริม เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่สารแซธโธฟิล (Xanthophyll) สูง จึงสามารถนำไปเป็นส่วนผสมอากหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะอาหารของของไก่ไข่ จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น     -    ป้องกันแมลง เนื่องจากดาวเรืองเป็นสารที่มีกลิ่นเหม็นแมลงไม่ชอบ จึงสามารถใช้เป็นเกราะป้องกันแมลงให้แก่พืชอื่น ๆ ในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ แอลฟ่า เทอร์เธียนิล (& - terthienyl) ซึ่งเป็นสารที่สามารถควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้เป็นอย่างดี     -    เพื่อจำหน่าย  ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ ใช้ทำพวงมาลัย ใช้ปักแจกัน
ถิ่นกำเนิด:  ประเทศเม็กซิโกอเมริกาใต้
สรรพคุณทางยา: -    ใบ มีสรรพคุณพอกแผลฝี  ทาแผลเน่าเปื่อย  น้ำคั้นจากใบแก้ปวดหู  -     ดอก แก้ริดสีดวงทวาร  ขับเสมหะแก้เจ็บตา เวียนศีรษะ ไอกรน คางทูม





ลักษณะทั่วไปของดอกดาวเรือง

 ดาวเรือง (Marigold) เป็นชื่อที่คนไทยทั่วไปผู้จักกันดี แต่มีชื่อภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือว่า "ดอกคำปู้จู้" ซึ่งหมายถึงดอกไม้ที่มีกลีบสีเหลืองคล้ายทองคำ ดาวเรืองเป็นพืชล้มลุก อายุประมาณ 0.5-4 ฟุต ใบเป็นใบประกอบ มีลักษณะเรียวยาว ดอกมีลักษณะเป็นแบบดอกรวม ประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก อัดซ้อนกันแน่นอยู่บนฐานรองดอก ดอกมีสีเหลือง ส้ม ครีม และขาว มีตั้งแต่ขนาดเล็ก คือประมาณ 1 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 4 นิ้ว และเมื่อตัดลำต้น กิ่งก้านหรือใบของดาวเรือง จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยรบกวน นอกจากนี้ภายในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ แอลฟ่า เทอร์เธียนิล (& - terthienyl) ซึ่งเป็นสารที่สามารถควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้เป็นอย่างดี

 โครงสร้างของราก



 โครงสร้างภายในของราก

1. เอพิเดอร์มิส (Epidermis)คือ ส่วนที่อยู่นอกสุด ประกอบด้วยเซลล์ผิ
2. คอร์เทกซ์ (Cortex)คือ ประกอบด้วยเซลล์หลายแถวอยู่ระหว่างเอพิเดอร์มิสและบริเวณสตีลส่วนใหญ่เป็นพาเรงคิมา (Parenchyma) ที่ทำหน้าที่สะสมน้ำและอาหาร
3. ไซเลม (Xylem) คือ เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงน้ำและสารอาหารไปสู่ส่วนต่างๆของพืช
4. โฟลเอม (Phloem)คือ เนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารที่ใบสังเคราะห์ขึ้นไปสู่ส่วนต่างๆของพืช


 โครงสร้างภายในของสำต้น





1. เอพิเดอร์มิส (Epidermis) คือ เนื้อเยื่อที่อยู่นอกสุด ทำหน้าที่ป้องกันเนื้อเยื่อที่อยู่ด้านใน



2.ท่อลำเลี้ยง  เป็นส่วนที่ลำเลี้ยงอาหารของพืชซึ่งประกอบด้วย  Pholem  และ  Xylem


3.พิธ (pith)  เป็นบริเวณตรงกลางของราก

โครงสร้างของใบ



โครงสร้างภายนอก


หน้าใบ





หลังใบ




ชนิดของใบ (Leaf type) :ใบประกอบ (compound leaf) คือใบที่มีใบย่อย (leaflet) มากกว่าหนึ่งใบบนก้านใบ



การเรียงของใบ (Leaf Arrangement)  การเรียงใบแบบตรงข้าม (opposite) การเรียงใบสองใบที่ออกจากข้อของลำต้นหรือกิ่งเป็นคู่ๆทำมุมประมาณ 180องศา

รูปร่างใบ Leaf Shape รูปหยักแบบขนนก(pinnatifid) แผ่นใบหยักคล้ายขนนก โดยหยักลึกประมาณครึ่งหนึ่งของระยะจากขอบใบถึงเส้นกลางใบ


รูปร่างปลายใบ (
Leaf Apex) แหลม (acute) ปลายใบจะค่อยๆเรียวเข้าบรรจบกัน ลักษณะเป็นมุมแหลม

รูปร่างฐานใบ (Leaf Base):รูปครีบ (decurrent) ฐานใบยาวลงมาตามก้านใบเป็นครีบ    



ขอบใบ
 entire  จักฟันเลื่อยซ้อน (double serrate) ขอบใบหยักฟันเลื่อย ซึ่งแต่ละซี่จะมีหยักย่อยแซมอีกชั้น




โครงสร้างภายใน



1.เอพิเดอร์มิส (Epidermis) :  อยู่ชั้นนอกสุดทั้งบนและล่างใบ ประกอบด้วยเซลล์ผิว เซลล์คุม และขน
2.มีโซฟิลล์ (MesohpyII) : อยู่ระหว่างชั้นเอพิเดอร์มิสทั้งสองด้าน ประกอบด้วยเซลล์พาเรงคิมาที่มีคลอโรพลาส์จำนวนมาก
2.1 แพลิเซตมีโซฟิลล์ (Palisade mesophyII) : มักจะอยู่ติดกับชั้นเอพิเดอร์มิสด้านบน มีเซลล์รูปร่างเรียวยาว เรียงแถวตั้งฉากกับใบ ภายในเซลล์จะมีคลอโรพลาส์มากกว่าด้านล่าง ทำให้ใบด้านบนมีสีเขียวมากกว่าด้านล่าง
2.2 สบันจีมีโซฟิลล์(Spongy mesophyII) : อยู่ถดจากแพลิเซดมีโซฟิลล์ลงมาจนถึงชั้นเอพิเดอร์มิสด้านล่าง ประกอบด้วยเซลล์ที่เรียงตัวกันไม่แน่นอน มีทิศทางที่ต่างๆกัน จึงทำให้เกิดช่องว่าระหว่างเซลล์เป็นจำนวนมาก

3.กลุ่มท่อลำเลียง :  อยู่บริเวณเส้นกลางใบ เส้นใบต่างๆ ประกอบไปด้วย ไซเลมและโฟลเอม




อ้างอิง http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87

http://web3.dnp.go.th/botany/BFC/leaf.html#base